Subscribe:

Ads 468x60px

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ไก่พม่าแม่สะเรียง มีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเหล่ากำเนิดในแม่สะเรียง แต่เท่าที่ผมศึกษาค้นคว้าดูพบว่าแหล่งกำเนิดจริงอยู่ที่พม่าครับที่มาพัฒนาต่อยอดกันที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
บุคคลซึ่งมีบทบาทบุกเบิกให้ไก่พม่าแม่สะเรียงมีชื่อเสียงและโด่งดังคือ คุณ อนันต์ เจ้าดูรี แห่ง ซุ้มแม่สะเรียง นั่นเอง คุณอนันต์ได้เปิดเผยประวัติความเป็นมาของไก่แม่สะเรียงให้ชาวไก่ชนฟังว่า “แรกเริ่มเดิมทีไก่แม่สะเรียงไม่มีชื่อเสียงอะไร ส่วนมากเป็นไก่พื้นบ้านธรรมดา หาซื้อไก่มาจากเชียงใหม่และลำพูนมาเล่น จนกระทั่งปี พ.ศ.2530 มีคนรู้จักอยู่ประเทศพม่า ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับประมง คิดว่าไก่พม่าน่าจะเก่งเลยหามาเล่น แรก ๆ เอามาทีละ 10 ตัว ใช้ไม่ได้เลย จนเที่ยวที่สี่ที่ไปเอา ลงทุนนั่งเครื่องบินไปลงที่ย่างกุ้ง ตะเวนหาซื้อไก่ พอได้แล้วก็นั่งเครื่องบินมาลงที่เชียงใหม่ และก็ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ แต่ที่ได้มาก็คัดทิ้งไปหลายตัว แต่เหลือไก่หงอนเงือกไว้ตัวเดียว เลี้ยงออกตีที่ท่าลี้ ข้างละ 5 หมื่น 5 พัน มันสามารถชนะมาได้ก็เลยนำมาทำสายพันธุ์หลักของซุ้ม
หลังจากนั้นก็นำเข้ามาเรื่อยๆเปลี่ยนวิธีการโดยอาศัยคนที่สนิทกันที่อยู่ฝั่งพม่าที่เล่นไก่ด้วย หาซื้อไก่ให้ตัวไหนเก่งก็ส่งมายัง จ.เมียวดี (หงสาวดีเดิม)แล้วข้ามฝั่งมาที่ อ.แม่สอดจ.ตาก เราก็วิ่งไปรับ 300 กว่ากิโลเมตร พอได้ไก่มาก็เลี้ยงออกชนที่เชียงใหม่เป็นหลัก แรกๆนักตีไก่เห็นเป็นไก่ใหม่ก็คอยแต่จะตีด้วย พอชนะบ่อยก็ไม่ค่อยมีใครกล้าตีด้วย เขาก็ถามว่าเป็นไก่มาจากไหน เราก็บอกว่ามาจากแม่สะเรียง คนก็เริ่มรู้จักมากขึ้น ด้วยลีลาสวยงาม วิ่งออก ซ้าย - ขวา ตีสวยงาม จนหลังๆคนที่เคยตีด้วยก็หันมาเป็นพวกเดียวกันหมด
จึงพอจะสรุปได้ว่า”ไก่พม่าแม่สะเรียงคือไก่ที่นำเข้าจากประเทศพม่านั่นเอง ไก่พม่าลูกนอกที่เก่งๆจะอยู่ในแหล่งสำคัญคือ เจ้าประดอง มินฉั่น ประโกกู่ และโคยเบ็ด
ปัจจุบันที่อำเภอแม่สะเรียงเองก็มีหลายอยู่หลายซุ้มที่พัฒนาไก่พม่าแม่สะเรียง ซึ่งก็ล้วนแต่แตกเหล่ากอออกจากซุ้มแม่สะเรียงเป็นส่วนใหญ่ 
 ลักษณะที่สำคัญของไก่ชนแม่สะเรียงเหล่าหมูบ คือ

1. ตัวเล็ก ค่อนข้างล่ำเตี้ย

2. คอสั้น

3. ไหล่ลู่ (ไหล่ไม่ยก) เวลายืนลำตัวขนานกับพื้น

4. หางเป็นหางพวง ใบใหญ่โคลนหางกระดกขึ้นและโค้งลงพองาม

5. ปีกยาว

6. แข้งเขียวอมดำ



แหล่งที่มา  oknation.net
ลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของไก่เหล่าป่าก๋อย ไก่เหล่าป่าก๋อยมีสีที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ คือ มีลักษณะสีเลา ต้องมีเลาขาวแซมตามสร้อย หางขาว เช่น เหลืองเลาหางขาว เขียวเลาหางขาว เป็นต้น มีกระขาวแซมตามหัวและส่วนต่างๆ บางตัวได้ลักษณะพระเจ้า 5 พระองค์ คือ มีจุดขาว 5 ตำแหน่ง หัว 1 ปีก 2 ข้อขา 2  
  รูปร่างของไก่เหล่าป่าก๋อยจะมีลักษณะเตี้ย ล่ำ เป็นไก่รอยเล็ก มีน้ำหนักตัวประมาณ 2.0 - 2.7 กิโลกรัม หงอนส่วนใหญ่จะเป็นหงอนหิน รูปร่างกลมมน ผิวหงอนเกลี้ยง เล็กกระทัดรัด เกล็ดแข้ง ส่วนใหญ่จะเป็นเกล็ดสองแถว ปัดตลอด จะเข้ขบฟัน เกล็ดแห้ง แข้งลักษณะค่อนข้างเหลี่ยมเล็กน้อย สีขาวหรือขาวอมเหลืองถ้าสีขาวชัดเจนจะดีมาก ท้องแข้งเต็ม กลมนูน เกล็ดบัวหลังเรียงเป็นระเบียบ ปากไก่เหล่าป่าก๋อย จะมีร่องน้ำชัดเจนทั้งสองข้าง สีขาวหรือสีขาวอมเหลือง ซึ่งสีของปากและแข้งของไก่เหล่าป่าก๋อยจะมีสีขาวหรือขาวอมเหลืองซึ่งเป็น ลักษณะทางพันธุกรรมที่เด่นชัด ตา ของไก่เหล่าป่าก๋อย จะมีสีขาวอมเหลือง ถ้าไก่ตัวนั้นเป็นไก่สีเหลืองเลา และสีขาวอมเขียว ถ้าไก่ตัวนั้นเป็นไก่สีเขียวเลา หาง ของไก่เหล่าป่าก๋อย ส่วนใหญ่จะเป็นไก่หางขาว ก้านหางแข็ง หางพุ่งตรง ปลายหางแหลม (หางเข็ม) ลักษณะหางสีขาว ก็เป็นอีกหนึ่งลักษณะประจำสายพันธุ์ที่เด่นชัด
    เชิงชนไก่เหล่าป่าก๋อยของแท้ ต้องก้าบ ถอนขนจัด เป็นไก่ปากบอน ฆ้อนหนัก และต้องเป็นไก่ที่รวดเร็ว เชิงชนดี มุด มัด กัดตีไม่เลือกที่ หันหน้าให้ก็จุ่มยิงหน้ากระเพาะ หรือวิ่งดัน พาดบน กัดบ่าตีตัว ตีซอก หันข้างให้ก็อัดสวาป นาบชายโครง หันหลังให้ ก็ไล่จิกหางตี นี่คือลักษณะไก่เหล่าก๋อยของจริง 
เมื่อเรานำมาพัฒนาแล้วการก๊าบจะลดลง เป็นธรรมดาแต่ถ้าตัวไหนรอยเล็กการก๊าบจะยังเห็นชัดเจนครับ

แหล่งที่มา.oknation.net


หากวิเคราะห์ลักษณะไก่พม่าทางกายภาพลักษณะไก่พม่าที่เราท่านชื่นชอบ ในปัจจุบันหากเราวิเคราะห์เราจะพบว่าไก่ชนพม่าที่ตลาดต้องการต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
1.รอยที่ต้องการ รอยกลางไปหาใหญ่ยังเป็นที่นิยมมากที่สุด คือควรมีขนาดตั้งแต่ 2.7 ขึ้นไป  พิมพ์นิยมมากที่สุดคือ 2.8-3.0 นี่คือขนาดที่ถือว่าโดนใจเซียนมากที่สุดครับ ใครเพาะได้รอยขนาดนี้ก็รับทรัพย์ครับ จากการสังเกตผมคิดว่าพิมพ์นี้จะครองตลอดไปนานพอสมควรครับ  ดังนั้นเราท่านจึงต้องเพาะให้ได้รอยมาตรฐาน
2.ชั้นเชิงที่ต้องการ  ลีลาการชนและชั้นเชิงที่ตลาดต้องการสูงมากที่สุดต้องมีคุณสมบัติบังคับคือ แข้งหน้าถี่แม่นครับ ส่วนลีลาที่แสวงหากันนักหนาคือม้าล่อครับ ทั้งล่อสั้นและล่อยาว รองลงไปคือพวกซิ่งรำวง  พวกโยกล่างก็ยังเป็นไก่ที่คลาสสิคอยู่ครับ ส่วนลีลานอกนอกนี้ถือว่าเป็นรองครับ
3. สีสรรที่ต้องการ สีไก่พม่าที่ตลาดต้องการสูงสุดยุคนี้คือสีนกกรดครับ ทั้งกรดแดง กรดเหลือง กรดดู่ เป็นสีที่เซียนให้ความสนใจเป็นอันดับหนึ่งครับ
4. สายพันธุ์ที่ต้องการ อันดับหนึ่งยกให้แม่สะเรียงครับ มาแรงและแรงไม่หยุด ส่วนแม่สะเรียงจะเป็นเหล่าไหนสายไหนก็แล้วแต่ซุ้มหรือฟาร์มจะพัฒนากันไปครับ
ข้อคิดนี้ก็นำเสนอฟาร์มและนักบรีดทั้งหลายเพื่อให้มีการพัฒนาตามทิศทางของตลาดต่อไปครับ

แหล่งที่มาoknation.net
1. ไก่พม่ามันเปรียวจะเลี้ยงจะดูแลต้องใจเย็น ๆ ค่อย ๆ จับค่อย ๆ คลำ เขาจะได้ไม่ตื่นกลัว
2. การปล้ำเลี้ยงใหม่ ๆ ต้องปล้ำแต่น้อยอย่าให้เกิน 1 ยก พออายุ11 เดือนค่อยนำไปไล่อันกับไก่อ่อน ๆ เหมือนกัน สักสองอันเพื่อฝึกยืนระยะ อย่าไล่อันนานเพราะพม่าดี ๆ ตีไม่เกินสองอันแน่นอน ที่สำคัญไก่พม่าหนุ่มถ้าปล้ำเลี้ยง  หนัก ๆ เดี๋ยวพาลไม่สู้ไก่เอาจะลำบาก เลี้ยงพม่าต้องรออายุ รอกระดูก รอกล้ามเนื้อนิดหนึ่ง ไม่งั้นจะใจเสาะ
3. พอชนขวบเริ่มไล่อัน 3 อันขึ้นได้ และออกบ่อนป่าชมรมได้ ไก่พม่าถ้าสภาพสดได้อายุต้องรีบชน บางทีรอแข็งไม่ได้ ดังนั้นการเลี้ยนงไก่พม่าจึงเน้นการออกกำลังกายมากกว่าการปล้ำวาง เช่นเตะมุ้ง เตะเป้า เพราะพม่าตีกันไม่นาน ไม่ต้องรออัน4อัน5  อันเดียวสองอันจบแล้ว ยกเว้นการชนราคาแพงควรดูความแข็งประกอบด้วยเพราะไก่เก่งมักรบกันยืดเยื้อ
4. กรณีเลี้ยงพม่าลูกผสมอาจเพิ่มความเข้มในการเลี้ยงการปล้ำใกล้เคียงกับไก่ไทยครับ
5.ดังที่บอกแล้วในครั้งก่อนว่าไก่พม่าหนุ่ม ๆ อย่าพึ่งปล้ำกับไก่ป่าก๋อยประเภทกัด ๆ มากนัก เพราะลำตัวยังบอบบางโดนบ่อย ๆ อาจเสียไก่  ถ้าเจอควรจับออกก่อนที่จะเสียไก่ อย่ากลัวเสียหน้าเพราะกระดูกอ่อน ๆ นี่โดนเขาเคี้ยวแน่นอน แต่ถ้าเราแข็งและพริ้วไหวแล้วค่อยว่ากัน
6.ไก่พม่าต้องเลี้ยงสม่ำเสมอห้ามขาดช่วง เพราะเป็นไก่ที่ไวต่อธรรมชาติ หากขาดเลี้ยงเพียงช่วงสั้น ๆ อาจทำให้ไก่ชนผิดฟอร์มได้
7.สังเกตอาการไก่ให้ดีถ้าป่วยหรือผิดสังเกตเพียงเล็กน้อยก็ควรงดปล้ำงดนำไปชนอย่างเด็ดขาด เพราะไก่จะชนผิดฟอร์มทันที

วันนี้ขอแค่นี้นะครับ


แหล่งที่่่มาoknation.net

ไก่ชน มีประวัติเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ( 356 – 323 ปี ก่อนคริสตกาล ) ซึ่งเป็นจอมจักรพรรดิของกรีก ได้กรีธาทัพแผ่อิทธิพลขยายอาณาจักรเข้ามายังประเทศอินเดีย มีเรื่องเล่ากันว่าแม่ทัพนายกองได้เห็น การชนไก่ ที่อินเดีย จึงได้นำ ไก่ชน ไปขยายพันธุ์ ณ เมือง
อเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากนั้นได้นำไก่ที่ขยายพันธุ์ได้ไปฝึกให้มีชั้นเชิงการต่อสู้แบบโรมัน เพื่อนำไปต่อสู้ในสนามโคลีเซียม
        เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียได้นำ ไก่ชน จากอินเดียเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยยอมรับว่า กีฬาไก่ชน เป็นเกมกีฬาที่ควรได้รับความนิยมจากบุคคลชั้นสูงเช่นเดียวกับการแข่งม้าและฟันดาบ นอกจากนี้ กีฬาชนไก่ ยังได้เผยแพร่เข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ไก่ชนในเอเซีย
        กีฬา ไก่ชน หรือ ตีไก่ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเซีย เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย การชนไก่ ในแถบเอเซียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และเชื่อว่า ไก่ชน มีพัฒนาการมาจาก ไก่ป่า ซึ่งมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารประจำบ้าน เมื่อ ไก่ป่า มาอยู่กับคนนานเข้า ก็ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นิสัยประจำตัวของไก่คือหวงถิ่นที่อยู่ ถ้ามีไก่ตัวอื่นๆ ข้ามถิ่นเข้ามาก็จะออกปกป้องที่อยู่อาศัย หรือเมื่อมีการแย่งผสมพันธุ์กับตัวเมีย ไก่ตัวผู้ก็จะตีกัน ซึ่งทำให้เกิดการถือหางกันระหว่างเจ้าของไก่ และด้วยนิสัยของนักพนันจึงทำให้มีการแข่งขันกัน การพัฒนาสายพันธุ์ของ ไก่ป่า จึงมีวิวัฒนาการเรื่อยมา 
   

แหล่งที่มา thaigoodview.com